ติดตามการประชุม APEC ครั้งที่ 30

     นายปิยะ มีผล รองผู้อำนวยการสำนักข่าว ส่วนปฏิบัติการและบริหารข้อมูลข่าวสาร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า   นายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 30 (2023 APEC Economic Leaders’ Meeting) และกิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 12 - 19 พฤศจิกายน 2566 ณ นครซานฟราน ซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 
   การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ถือเป็นเวทีเศรษฐกิจชั้นนําที่จะอำนวยความสะดวกในเรื่อง การค้า การลงทุน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 30 ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ภายใต้หัวข้อ “การสร้างอนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับทุกคน” (Creating a Resilient and Sustainable Future for All) หัวข้อสำคัญในการประชุม APEC คือ 
-    เชื่อมต่อถึงกัน (Interconnected) 
-    นวัตกรรม (Innovative) 
-    ครอบคลุม (Inclusive)
ประกาศไทยพร้อมขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
     ในงานสัมมนา Networking Reception นายกฯ ได้ประกาศถึงความพร้อมในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของไทย สะท้อนบทบาทของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือ ที่ช่วยยกระดับความเชื่อมั่นของนานาชาติที่มีต่อไทย ส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรับมือกับความท้าทายและส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกัน 
•    ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่ปลอดภัยสำหรับการลงทุน
•    มีศักยภาพในการเติบโตสูงมากในเอเชีย 
•    มีแรงขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจมหภาคที่ดี เสถียรภาพทางการเมือง การบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ 
•    สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อการลงทุน 
     โดยสหรัฐฯ ถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของไทย ขณะที่ด้านการลงทุนจากข้อมูลของ BOI แสดงให้เห็นว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมาสหรัฐฯ เป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับสามของไทย ด้วยเงินลงทุนรวม 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสำคัญ ศักยภาพ และโอกาสสำหรับภาคเอกชนสหรัฐฯ ดังนี้
-    ด้านการลงทุน ผลักดันประเทศ สู่ “เศรษฐกิจใหม่ (New Economy)
-    ด้านความยั่งยืน มุ่งมั่นสร้างการเติบโตสีเขียวและยั่งยืน 
-    ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ตั้งเป้าเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
ผลักดันความร่วมมือการค้าการลงทุน 
    นายกฯ หารือภาคเอกชนชั้นนำของสหรัฐฯ ย้ำความพร้อมไทยในการเป็นฐานการผลิต พัฒนา Supply chain รัฐบาลพร้อมอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนความร่วมมือ การค้า การลงทุนระหว่างกัน
•    บริษัท Tesla บริษัทธุรกิจด้านรถยนต์ไฟฟ้าและด้านพลังงานชั้นนำของโลก 
-    หารือเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาด 
-    ตอกย้ำถึงความเป็นศูนย์กลาง EV และพลังงานทดแทนของไทยในอนาคต
-    เชิญชวนให้เข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น  
•    บริษัท HP ผู้นำด้านการผลิต PC & Laptop และกลุ่มเครื่องพิมพ์ 
-    เชิญชวนขยายการลงทุนเพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิต 
-    พัฒนา supply chain และตั้งสำนักงานภูมิภาค เพื่อเพิ่มการผลิตในไทย 
-    สร้างความร่วมมือในด้านการศึกษา (Academic) เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ
-    กล่าวถึงความคืบหน้าและการพัฒนาโครงการ Landbridge ของไทย พร้อมเชิญชวนบริษัท HP เข้ามาร่วมโครงการฯ ช่วยลดค่าขนส่ง และสามารถทำให้ไทยเป็นฐานการส่งออกที่เหมาะสมเป็นอย่างดี
•    บริษัท Analog Devices, Inc. หรือ ADI บริษัทผลิตวงจรรวม (Integrated Circuit: IC) รายใหญ่ระดับโลก
-    สนับสนุนให้ ADI ขยายการลงทุนในไทย
-    รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนการลงทุนอย่างเต็มที่ โดยมีสถาบันการศึกษาในไทยพร้อมที่จะทำงานกับบริษัทฯเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะกับทักษะความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบวงจรผลิตแผ่นเวเฟอร์ที่ ADI ต้องการ
•    Amazon Web Services (AWS)
-    เปลี่ยนผ่านประเทศไทยเป็นผู้นำในเศรษฐกิจดิจิทัล และ innovation hub ผ่านการมาลงทุนของเทคโนโลยีคลาวนด์ (AI, ML, data analytics, IoT) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลที่สำคัญ และรากฐานในการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ
-    เพิ่มโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ของคนรุ่นต่อไป
-    AWS ที่เป็น hyperscale data center ระดับโลกเจ้าแรกที่กำลังลงทุนก่อสร้าง AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในประเทศไทย ด้วยงบประมาณกว่า 1.9 แสนล้านบาท (US$5 พันล้านบาท) ในระยะเวลากว่า 15 ปี
     นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง แลนด์บริดจ์ หนึ่งใน Mega Project มูลค่า 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งจะช่วยให้ทั่วโลกตระหนักถึงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ทั้งการพาณิชย์และ             โลจิสติกส์
•    โครงการแลนด์บริดจ์ (ชุมพร-ระนอง)  
-    โครงการแลนด์บริดจ์พัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการผลิตและการขนส่ง 
-    โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นเส้นทางเพิ่มเติมที่สำคัญ เพื่อรองรับการคมนาคมขนส่ง และเป็นทางเลือกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาช่องแคบมะละกา ที่ถูกกว่า เร็วกว่า และปลอดภัยกว่า
-    ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม สร้างงาน 280,000 ตำแหน่ง 
-    คาดว่า GDP ของไทยจะเติบโต 5.5% ต่อปี หรือเทียบเท่ากับ 670,000 ล้านดอลลาร์เมื่อดำเนินโครงการอย่างเต็มรูปแบบ
                                                                                                                            เรียบเรียง/ข่าว : ธวัลรัตน์ แดงเจริญ นักประชาสัมพันธ์
                                                                                                                    แหล่งข้อมูล : แหล่งข้อมูล : ศูนย์ข่าว IOC กรมประชาสัมพันธ์


    


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
มหาดไทย
พาณิชย์
เกษตร
ทรัพยากรธรรมชาติ
แรงงาน
อุตสาหกรรม
ยุติธรรม
ดิจิทัล