การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสระบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 7/2566

ห้องประชุมพระพุทธบาท ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี ตำบลตะกุด อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสระบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 7/2566
โดยมีเรื่องเพื่อพิจารณา ประกอบด้วยโครงการศึกษาผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ตามที่จังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่แนวเขตเส้นทางการก่อสร้างตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข6สายบางปะอิน-นครราชสีมา(M6) เพื่อให้การศึกษาผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ให้ดำเนินการเปิดใช้งานช่วงกม.27+500 ถึง กม.37+500 (ทางแยกต่างระดับหินกอง)และช่วง กม.77+000 ถึง กม.82+500 (รวมทางแยกต่างระดับมวกเหล็ก)กรณีดำเนินการเสร็จแล้วให้เปิดใช้งานเพื่อให้การสัญจรการจราจรไม่ติดขัดในช่วงเทศกาลและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักโดยประสานการดำเนินการร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานและภาคีเครือข่ายการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ต่อไป แนวทางการพัฒนาเมืองสระบุรีเมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อพิจารณามอบหมายให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองสระบุรีเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก และมอบหมายสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสระบุรีและเทศบาลเมืองสระบุรี เป็นหน่วยงานสนับสนุน เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการพัฒนาเมือง ข้อเสนอแนวทางเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดสระบุรี
โครงการSaraburi food valley พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัดเพื่อนำเสนอโครงการต่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมภาคกลางในลำดับต่อไป โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย การลด ดูดซับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้ และการเกษตร พิจารณาและหาแนวทางร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการ T-VERภาคป่าไม้และการเกษตรในพื้นที่จังหวัดสระบุรี เพื่อตรวจสอบ/ประเมิน และขึ้นทะเบียนโครงการฯโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำและการอนุรักษ์แม่น้ำป่าสักในเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี โครงการจังหวัดต้นแบบ "PPP-สระบุรีแซนด์บ็อกซ์:เมืองคาร์บอนต่ำ" ซึ่งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของสระบุรี 27.93 Mt.Co2(ล้านตัน)ซึ่งการดำเนินงานจะร่วมบูรณาการโดยผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมจริง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและภาคประชาสังคมที่ได้รับผลกระทบซึ่งปัจจุบันมีความร่วมมือเกิดขึ้นแล้ว อาทิเช่น การกำหนดใช้ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำในทุกงานก่อสร้างในจังหวัดสระบุรี ตั้งแต่ปี2567เป็นต้นไป การทำนาเปียกสลับแห้ง ช่วยลดการใช้น้ำ การปลูกพืชพลังงาน หญ้าเนเปียร์ และต้นไม้58 ชนิดที่ได้คาร์บอนเครดิตพร้อมช่วยโลกและนำของเหลือจากการเกษตรไปแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน สร้างรายได้ให้ชุมชน รวมทั้งร่วมปลูกป่าชุมชน 38 แห่งทั่วจังหวัด ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกและนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สร้างรายได้ให้ชุมชน การแก้ไขปัญหาข้อห่วงกังวลกรณีประชาชนได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการสถานีรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย คือชุมชนชาวหนองแซงเดิม2ฝั่ง ฝั่งตลาดและฝั่งหน่วยงานราชการ คันทางระดับดินจะทำให้ชุมชน2ฝั่งแยกส่วนกัน และทำให้การระบายน้ำไม่สะดวกและเกิดการท่วมขัง ซึ่งประชาชนขอให้การรถไฟฯพิจารณาปรับรูปแบบเป็นโครงสร้างทางรถไฟยกระดับทั้งหมดรวมระยะทาง 7.02 กม.จึงได้สั่งการให้ดำเนินการแก้ไขและจัดประชุมคณะเล็กเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป


image รูปภาพ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
มหาดไทย
พาณิชย์
เกษตร
ทรัพยากรธรรมชาติ
แรงงาน
อุตสาหกรรม
ยุติธรรม
ดิจิทัล