ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผล 1 ต.ค.65 เป็นต้นไป

       นางสาวศิริลักษณ์ รัตนวโรภาส ผู้อำนวยการสำนักข่าว ส่วนปฏิบัติการและบริหารข้อมูลข่าวสาร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ จากปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับขึ้นราคาของสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นหลาย ๆ อย่าง ส่งผลกระทบต่อประชาชนคนใช้แรงงานให้ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว 
     ล่าสุด ครม.มีมติเห็นชอบปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั้งประเทศ ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างกระทรวงแรงงานเสนอ โดยอนุมัติการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใน 77 จังหวัด ทั่วประเทศ ที่อัตรา 8-22 บาท/วัน หรือเพิ่มขึ้นต่ำสุดอยู่ที่ 328 บาท/วัน และเพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ 354 บาท/วัน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 หลังจากไม่มีการปรับขึ้นมาตั้งแต่วันที่  1 ม.ค. 63
การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำประกอบด้วย 9 อัตรา
1.    ค่าแรง 354 บาท มี 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต
2.    ค่าแรง 353 บาท มี 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
3.    ค่าแรง 345 บาท มี 1 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา
4.    ค่าแรง 343 บาท มี 1 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา
5.    ค่าแรง 340 บาท มี 14 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี หนองคาย อุบลราชธานี พังงา กระบี่ ตราด ขอนแก่น เชียงใหม่ สุพรรณบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี
6.    ค่าแรง 338 บาท มี 6 จังหวัด คือ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร สมุทรสงคราม จันทบุรี และนครนายก
7.    ค่าแรง 335 บาท มี 19 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี บึงกาฬ ชัยนาท นครพนม พะเยา สุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย พัทลุง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก อ่างทอง สระแก้ว บุรีรัมย์ และเพชรบุรี
8.    ค่าแรง 332 บาท มี 22 จังหวัด คือ อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตรัง ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุทัยธานี ลำปาง ลำพูน ชุมพร มหาสารคาม สิงห์บุรี สตูล แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร ราชบุรี ตาก นครศรีธรรมราช ชัยภูมิ ระนอง และพิจิตร
9.    ค่าแรง 328 บาท มี 5 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี
     เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีค่าครองชีพไม่เท่ากัน ส่งผลให้การคำนวณการจ่ายค่าแรงตามเขตพื้นที่ตามความเหมาะสม
ปรับ 5 % ลูกจ้างอยู่ได้ นายจ้างอยู่รอด
      สำหรับการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2565 ในครั้งนี้มีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท คิดเป็น 5.02% โดยเป็นความเห็นชอบจาก 3 ฝ่ายคือ ตัวแทนนายจ้าง ตัวแทนลูกจ้าง และกระทรวงแรงงาน  เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และเพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ พร้อมกันคณะกรรมการค่าจ้างได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลมีการออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในส่วนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ เพื่อนำเรื่องนี้เสนอ ครม. พิจารณามอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
                                                                                                                             เรียบเรียง/ข่าว : ธวัลรัตน์ แดงเจริญ นักประชาสัมพันธ์
                                                                                                                                          แหล่งข้อมูล : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
มหาดไทย
พาณิชย์
เกษตร
ทรัพยากรธรรมชาติ
แรงงาน
อุตสาหกรรม
ยุติธรรม
ดิจิทัล