มาตรการบรรเทาค่าใช้จ่ายราคาพลังงาน

       นางสาวศิริลักษณ์ รัตนวโรภาส ผู้อำนวยการสำนักข่าว ส่วนปฏิบัติการและบริหารข้อมูลข่าวสาร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า สถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลกยังคงผันผวนและปรับสูงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ต้นทุนการผลิตพลังงานทุกชนิดทั้งน้ำมัน ไฟฟ้า และแก๊สหุงต้ม ซึ่งเป็นสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิตปรับสูงขึ้นกระทบต่อค่าครองชีพประชาชนและต้นทุนของภาคธุรกิจ 
      รัฐเล็งเห็นความจำเป็นต้องใช้มาตรการทางภาษีไปอีกระยะหนึ่งเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ จึงได้มีมติครม.ต่ออายุมาตรการอุดหนุนค่าแก๊ส - ดีเซล - ไฟฟ้า ต่อเนื่องไปจนถึงเดือน ธันวาคม 2565
มาตรการช่วยเหลือด้านราคาก๊าซ LPG 
ขยายระยะเวลาส่วนลดราคาก๊าซ LPG แก่ร้านค้า หาบเร่  แผงลอยอาหารที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่เกิน 100 บาท/ราย/เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 (3 เดือน) โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มประมาณ 5.5 ล้านราย
มาตรการบริหารราคาน้ำมันดีเชล 
ครม.เห็นชอบต่ออายุลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาท ออกไปอีก 2 เดือน ถึงวันที่ 20 พ.ย.2565 เพื่อควบคุมไม่ให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นจนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน  ที่ผ่านมา กระทรวงการคลัง ได้ปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล จนถึงปัจจุบันรวม 3 ครั้ง ดังนี้
•    ครั้งที่ 1 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 20 พฤษภาคม 2565 ลดภาษีลง 3 บาทต่อลิตร เป็นเวลา 3 เดือน ส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ประมาณ 18,000 ล้านบาท
•    ครั้งที่ 2 ช่วงวันที่ 21 พฤษภาคม - 20 กรกฎาคม 2565 เป็นเวลา 3 เดือน โดยลดภาษีดีเซลลง 5 บาทต่อลิตรรัฐสูญรายได้ประมาณ 30,000 ล้านบาท
•    ครั้งที่ 3 เป็นการขยายอายุมาตรการตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม - 20 กันยายน 2565 เป็นเวลา 2 เดือนโดยลดภาษีในอัตราเดิม 5 บาทต่อลิตร รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 20,000 ล้านบาท
มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้า 
เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน โดยการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2565 ดังนี้
(1) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ให้ส่วนลดค่า Ft จำนวน 92.04 สตางค์/หน่วย
(2) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 301 - 500 หน่วย/เดือน ซึ่งเป็นคนชั้นกลาง ให้ส่วนลดจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft ร้อยละ 75 จำนวน 51.50 สตางค์/หน่วย
(3) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 351 - 400 หน่วย ให้ส่วนลดค่า Ft ร้อยละ 45 คือ จำนวน 30.90 สตางค์ต่อหน่วย/เดือน
(4) ผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 401 - 500 หน่วย ให้ส่วนลดค่า Ft ร้อยละ 15 คือ จำนวน 10.30 สตางค์/หน่วย คาดว่า จะใช้งบประมาณ 9,128.41 ล้านบาท
โดยการดำเนินมาตรการตามแนวทางช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้า กลุ่ม (1) และ (2) จะเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าประมาณ 80% ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ หรือคิดเป็น 89% ของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม มาตรการบรรเทาผลกระทบหลายมาตรการ จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ด้วยสถานการณ์ราคาพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ต่างส่งผลทั้งต้นทุนการผลิต ค่าไฟ รัฐบาลจึงตั้งใจช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนทั่วไปและประชาชนที่มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมด้วย
                                                                                                                             เรียบเรียง/ข่าว : ธวัลรัตน์ แดงเจริญ นักประชาสัมพันธ์
                                                                                                                                          แหล่งข้อมูล : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
มหาดไทย
พาณิชย์
เกษตร
ทรัพยากรธรรมชาติ
แรงงาน
อุตสาหกรรม
ยุติธรรม
ดิจิทัล