มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด

        นายภควัต พรหมเพ็ญ รองผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการและการบริหารข้อมูลข่าวสาร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 10/2564 (เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564) ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เสนอ ถึงแนวทางการออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 (ฉบับที่ 28) และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 10/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด 53 จังหวัด (เดิม 24 จังหวัด) พื้นที่ควบคุม 10 จังหวัด (เดิม 25 จังหวัด) และพื้นที่เฝ้าระวังสูง 1 จังหวัด คือภูเก็ต (เดิม 18 จังหวัด) 
         สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้มีการยกระดับเพิ่ม 3 จังหวัดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งสิ้น 13 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, นครปฐม, นนทบุรี นราธิวาส, ปทุมธานี, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, ยะลา, สงขลา, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร   
        ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน  2548 (ฉบับที่ 28)  ที่ประชาชนและกิจการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด สามารถทำได้ดังนี้
– ห้ามออกนอกเคหสถาน เวลา 21.00-04.00 น. ยกเว้นบุคคลที่ได้รับอนุญาต
– ลดการเดินทางในพื้นที่และงดการเดินทางข้ามจังหวัด
– ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ WFH 100% และให้เอกชน WFH เต็มขีดความสามารถ
– ให้ใช้เอกสารรับรองการเดินทาง หรือ QR Code เพื่อใช้เดินทางเข้า-ออกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (ผู้เดินทางจะต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ที่กำหนด https://covid-19.in.th เพื่อรับ QR Code มาแสดงกับเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจ)
– ขนส่งสาธารณะ จำกัดผู้โดยสารไม่เกิน 50% ของความจุ
– ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม เปิดได้ถึง 2 ทุ่ม ห้ามทานในร้าน ให้ซื้อกลับบ้านเท่านั้น
– ห้าง/ศูนย์การค้า/คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต ยาและเวชภัณฑ์ และพื้นที่การให้บริการฉีดวัคซีน หรือบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ ของภาครัฐเปิดได้ถึง 2 ทุ่ม
– โรงแรมเปิดได้ปกติ งดกิจกรรมสัมมนา ประชุม หรือจัดเลี้ยง
– ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด ปิดตั้งแต่ 20.00-04.00 น.
– โรงเรียน/สถานศึกษา/สถาบันการศึกษา เรียนออนไลน์ ห้ามใช้สถานที่จัดการสอน
– กิจการต่อไปนี้เปิดได้ตามความจำเป็น แต่ต้องดำเนินการตามสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ประกอบด้วย โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านค้าทั่วไป โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ธุรกิจสื่อสารคมนาคม ไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ก่อสร้าง ร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง
– ห้ามจัดกิจกรรม การรวมกลุ่มของบุคคลมากกว่า 5 คน
         ด้านสมาคมธนาคารไทย แจ้งปิดสาขาในห้างสรรพสินค้า สาขาในศูนย์การค้า และสาขาในคอมมูนิตี้มอลล์ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดทั้ง 13 จังหวัดข้างต้นเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคมเป็นต้นไป พร้อมแนะนำการทำธุรกรรมผ่านช่องทาง Mobile Banking เช่น พร้อมเพย์ หรือการชำระเงินด้วย QR Code เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง ลดการเดินทาง และลดการสัมผัส

                                                                                                                             เรียบเรียง/ข่าว : ธวัลรัตน์ แดงเจริญ นักประชาสัมพันธ์
                                                                                                                                                 ข้อมูล : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
มหาดไทย
พาณิชย์
เกษตร
ทรัพยากรธรรมชาติ
แรงงาน
อุตสาหกรรม
ยุติธรรม
ดิจิทัล