มาตรการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ม.33,ม.39,ม.40 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด

          นายภควัต พรหมเพ็ญ รองผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการและการบริหารข้อมูลข่าวสาร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดฉบับที่ 28 เพื่อลดผลกระทบในระยะสั้น สำหรับกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ ทั้งในและนอกระบบประกันสังคม โดยเป็นการทดแทนมาตรการช่วยเหลือตามมติครม. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ 1 เดือน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 13 จังหวัด ในกิจการที่ได้รับผลกระทบ 9 สาขา จากเดิมที่เห็นชอบไปแล้ว 2,519.38 ลบ. เพิ่มเป็น 13,504.696 ลบ. หรือเพิ่มขึ้น 10,985.316 ลบ. โดยมีรายละเอียดดังนี้
          1. ขยายพื้นที่จังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจากเดิม 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, นครปฐม, นนทบุรี นราธิวาส, ปทุมธานี, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, ยะลา, สงขลา, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
            2. กิจการรวม 9 สาขา ได้แก่ 
             1) ก่อสร้าง 
             2) ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 
             3) ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 
             4) กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด 
             5) ขายส่งและการขายปลีก ซ่อมยานยนต์ 
             6) ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 
             7) กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 
             8) กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ 
             9) ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร  
         3. รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ 
         3.1 ในระบบประกันสังคม 
         นายจ้างและผู้ประกันตน ตามมาตรา33   
            -นายจ้างและผู้ประกอบการ รัฐบาลยังคงจ่ายให้นายจ้างตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ สูงสุดไม่เกิน 200 คน  
            -ลูกจ้าง จ่ายเพิ่มเป็น  2,500 บาท/คน จากที่ลูกจ้างจะได้รับตามมาตรการช่วยเหลือเดิมเพียง 2,000 บาท/คน  ซึ่งเมื่อรวมกับจ่ายชดเชยเยียวยาร้อยละ 50 ของรายได้ให้ลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ทำให้ผู้ประกันตน ม.33 สัญชาติไทย จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่เกิน 10,000 บาท/คน    
           นอกจากนี้ ได้เพิ่มสิทธิให้ผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ที่ประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน สำหรับผู้ที่อยู่นอกระบบ ม. 33 อาชีพอิสระ ขอให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.40) ภายในเดือน ก.ค. 64  เพื่อจะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน   
          3.2 นอกระบบประกันสังคม  
           กลุ่มผู้ประกอบการ/นายจ้าง กรณีมีลูกจ้าง ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม (ม.33) ภายในเดือน ก.ค. 64  เพื่อที่นายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบการ  สูงสุดไม่เกิน 200 คน ขณะเดียวกันลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน
            กรณีที่ไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน รวมทั้งขยายมาตรการช่วยเหลือ จากเดิมให้เฉพาะผู้ประกอบการในหมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม ในโครงการคนละครึ่งที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม ได้รับการช่วยเหลือ 3,000 บาทเท่านั้น   
         สำหรับผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน”  โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะ  
         -ขยายให้ความช่วยเหลือจากเดิมเฉพาะหมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม  เป็น 5 กลุ่ม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้าน OTOP ร้านค้าทั่วไป ร้านค่าบริการและกิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) กรณีที่มีลูกจ้าง ขอให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมภายในเดือน ก.ค. 64  เพื่อนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/คน/สถานประกอบการ  สูงสุดไม่เกิน 200 คนและลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน กรณีที่ไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันสังคม (ม.40) ภายในเดือน ก.ค. 64  เพื่อจะได้รับเงินในอัตรา 5,000 บาทต่อคน 
         ทั้งนี้ ในการจ่ายเงินชดเชยผู้ที่อยู่ในมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากประกาศ-คำสั่งของรัฐบาล ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ได้รับการชดเชย 2,500 บาทด้วย และลูกจ้างแรงงาน มาตรา 33 ที่ตกงาน จ่าย 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างรายวัน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และจ่ายสมทบให้สัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน ไม่เกิน 10,000 บาท โดยจะโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชน ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
         ส่วนการจัดสรรให้นายจ้าง ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว 9 กิจการ จะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ เลขประจำตัวประชาชน ให้แก่ นายจ้างที่อยู่ในเขต 10 จังหวัดควบคุมสูงสุดหรือสีแดงเข้ม โดยนายจ้างได้สูงสุด 6 แสนบาท (จากลูกจ้าง ไม่เกิน 200 คน ๆ ละ 3,000 บาท) ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เช่นเดียวกัน
         ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40 ซึ่งเป็นกลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งล่าสุดนี้ รัฐบาลจะเยียวยา 5,000 บาท โดยผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ในมาตรา 39 และ 40 ก่อนวันที่ 28 มิ.ย. 2564 ให้รีบสมัครภายในวันที่ 30 ก.ค. 2564 เพื่อสำนักงานประกันสังคมจะได้ส่งข้อมูล และโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
        ขณะที่นายจ้างผู้ประกอบการ ในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามผู้ประกอบการในระบบถุงเงิน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะ ที่ไม่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท ด้วยเช่นกัน
        ส่วน 3 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และอยุธยา ที่มีการประกาศเพิ่มเติม เพิ่มเติม สภาพัฒน์ จะนำเข้าพิจารณาในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ภายในสัปดาห์นี้ และนำเข้า ครม. ในวันอังคารที่ 27 กรกฎาคม 2564
        สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถสมัครง่าย ๆ ด้วยตนเองผ่านมือถือที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ ที่เคาน์เตอร์บิ๊กซี (Big C) หรือสมัครผ่านผู้แทนเครือข่ายประกันสังคม
        ทั้งนี้ เมื่อสมัครแล้วสามารถจ่ายเงินสมทบได้ทันที สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ หรือที่สายด่วน 1506 ให้บริการ  ไม่เว้นวันหยุดราชการตลอด 24 ชั่วโมง

                                                                                                                             เรียบเรียง/ข่าว : ธวัลรัตน์ แดงเจริญ นักประชาสัมพันธ์
                                                                                                                                                 ข้อมูล : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
มหาดไทย
พาณิชย์
เกษตร
ทรัพยากรธรรมชาติ
แรงงาน
อุตสาหกรรม
ยุติธรรม
ดิจิทัล