ผ่อนคลายมาตรการโควิดเดินหน้าเศรษฐกิจเปิดประเทศ

          นางสาวเพ็ญนภา เข็มตรง รองผู้อำนวยการสำนักข่าว ส่วนปฏิบัติการและบริหารข้อมูลข่าวสาร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า 1 มิถุนายน 2565 เริ่มต้นมาตรการผ่อนคลายปรับหลักเกณฑ์การเดินทางเข้าประเทศ และการเปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ ในพื้นที่สีฟ้า และสีเขียว รวมทั้งการปรับพื้นที่สถานการณ์ใหม่ ตามมติ ที่ประชุม ศบค. 20 พฤษภาคม 2565
การอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศ
    การปรับมาตรการThailand Pass จากเดิมทุกคน(ทั้งชาวไทยและต่างชาติ) ที่เดินทางเข้าราชอาณาจักรต้องลงทะเบียน Thailand Pass ปรับเป็นให้ลงทะเบียนเฉพาะผู้เดินทางชาวต่างชาติเท่านั้น (คนไทยไม่ต้องลง Thailand Pass) นอกจากนี้ยังปรับรูปแบบ Thailand pass ให้สะดวกขึ้น ดังนี้
1.    ปรับรูปแบบให้เหลือเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น ได้แก่ 1) Vaccine/Test 2) Insurance 3) Passport (VIP/TIP)    
2.    ให้เป็นการออก QR Code ทันทีหลังลงทะเบียนเสร็จ (ไม่มีการรออนุมัติ) 
3.    ประกันสุขภาพต่างชาติยังคงไว้ที่ 10,000 เหรียญสหรัฐ 
4.    ให้สายการบินตรวจสอบเอกสารต่างชาติที่ปรากฎตามหน้า QR Code (วัคซีน หรือผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ) และการออก Boarding Pass      
5.    เดินทางถึงประเทศไทยทำการตรวจสอบและลงระบบคัดกรองเข้าประเทศ
    สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์เดินทางเข้าไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว เพียงแค่แสดงผลตรวจ RT-PCR หรือ Professional ATK ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง หรือหากไม่มีผลตรวจก่อนเดินทาง สามารถรับการตรวจได้เมื่อเดินทางถึงประเทศไทย
การผ่อนปรนมาตรการเข้าประเทศ รวมไปถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่มีแนวโน้มคลี่คลายดีขึ้น ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลตัวเลขรายได้ไตรมาสแรกปี 2565 เพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปี 2564 กว่า 2,000% ขณะที่คาดการณ์ตัวเลขผู้เดินทางจากต่างประเทศภายในเดือนพฤษภาคม 2565 กว่า 1 ล้านคน
ด้านการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2565 จะฟื้นกลับมาได้ราว 50% ของปี 2562(ก่อนเกิดโควิด-19) และจะฟื้นกลับมาได้ถึง 80% ในปี 2566 โดยที่จำนวนนักท่องเที่ยวอาจน้อยกว่าเดิม แต่เกิดการใช้จ่ายที่มากขึ้น 
ทางภาครัฐบาลจึงดำเนินปรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง (Long-Term Resident Visa :LTR Visa) ให้มีความครอบคลุมและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น รองรับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและการลงทุนสู่ประเทศไทยตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้มีการใช้จ่ายภายในประเทศและเกิดการลงทุนเพิ่มมากขึ้น เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจ ประชาชน และแรงงานในประเทศมีรายได้ต่อเนื่องโดยกำหนดการตรวจลงตรา (วีซ่า) สำหรับผู้พำนักระยะยาว (Long-term resident visa: LTR)  4 กลุ่มเป้าหมายหลักได้แก่ 
1) กลุ่มประชาคมโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง 
2) กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ 
3) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย 
4) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญ 
โดยการปรับเกณฑ์วีซ่าระยะยาว (LTR Visa) เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่มเป้าหมายนี้จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการลงทุนให้แก่ประเทศไทยได้อย่างมาก
ตัวอย่าง
    ผลิตสกู๊ปโดยเดินเรื่องจาก 1 ใน4 กลุ่มเป้าหมาย เช่น นักธุรกิจที่เข้ามาติดต่อลงทุนในประเทศ หรือแม้แต่วิศวกรที่มีทักษะเฉพาะด้านในโครงการขนาดใหญ่ ว่าในอดีตเข้ามาทำงานรูปแบบไหน พออยู่จนครบกำหนด ต้องไปติดต่อ ตม. หรือ ออกนอกประเทศแล้วกลับเข้ามาใหม่ ชี้ให้เห็นว่าการมี LTR VISA ทำให้เค้าสะดวกขึ้นอย่างไร และมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาทำงานหรือลงทุนในประเทศไทย และขยายให้เห็นว่าเมื่อเราดึงดูดกลุ่มเหล่านี้มาได้ จะเป็นประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของไทยอย่างไร เช่น เข้ามาช่วยพัฒนาในโครงการขนาดใหญ่ EEC / การผลิตรถ EV หรือแม้แต่กลุ่ม โรงพยาบาล/สปา ได้ประโยชน์จากกลุ่มนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
    นอกจากหลักเกณฑ์ที่ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเดินทางเข้าราชอาณาจักรแล้ว ในมติยังเห็นชอบปรับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคแบบบูรณาการ ดังนี้
พื้นที่เฝ้าระวังสูง 46 จังหวัด (สีเหลือง)
กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ ชุมพร ตรัง ตาก นครนายก นครปฐม นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พะเยา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยะลา ร้อยเอ็ด ระนอง ราชบุรี ลพบุรี เลย ลำพูน ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี หนองคาย หนองบัวลำภู อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อุบลราชธานี
พื้นที่เฝ้าระวัง 14 จังหวัด (สีเขียว)
ชัยนาท ตราด นครพนม น่าน บุรีรัมย์ พิจิตร อ่างทอง มหาสารคาม ยโสธร ลำปาง สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ อุดรธานี อำนาจเจริญ
พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 17 จังหวัด (สีฟ้า)
กระบี่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี จันทบุรี ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ นครราชสีมา นนทบุรี นราธิวาส ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระยอง สงขลา (จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่)
ทั้งนี้ในส่วนของสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 1 มิ.ย. 65 ซึ่งจะต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ดังนี้ 
1. สถานประกอบการต้องลงทะเบียนและประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID 2Plus (TSC 2+) และขออนุญาตก่อนเปิดดำเนินการ โดยสถานประกอบการต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับการปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และมาตรการทางกฎหมายโดยเคร่งครัด 
2. สำนักงานเขต ตรวจประเมินสถานประกอบการตาม COVID Free Setting เพื่อพิจารณาอนุญาตเปิดดำเนินการ และรายงานในระบบออนไลน์ 
3. สำนักงานเขต ตรวจกำกับ ติดตามสถานประกอบการที่อนุญาตให้เปิดดำเนินการ ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด–19 อย่างเคร่งครัด
ลักษณะการเปิดให้บริการ กำหนดเวลาในการให้บริการ-จำหน่าย และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 24.00 น. ห้ามไม่ให้นั่งดื่ม และงดการใช้แก้วร่วมกัน การให้บริการที่มีการคลุกคลีและสัมผัสใกล้ชิดกับลูกค้า จะต้องสวมหน้ากาก เป็นต้น
แนวทางการสื่อสาร
•    รายละเอียดของการปรับมาตรการของประเทศเพื่อเดินหน้าเศรษฐกิจ
•    สะท้อนให้เห็นประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ประเทศไทยจะได้รับจากกลุ่ม LTR Visa รวมทั้งยกตัวอย่างธุรกิจที่ได้ประโยชน์
ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเดินหน้าเศรษฐกิจเพื่อให้คนได้ใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด
                                                                                                                             เรียบเรียง/ข่าว : ธวัลรัตน์ แดงเจริญ นักประชาสัมพันธ์
                                                                                                                                          แหล่งข้อมูล : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
มหาดไทย
พาณิชย์
เกษตร
ทรัพยากรธรรมชาติ
แรงงาน
อุตสาหกรรม
ยุติธรรม
ดิจิทัล